Last updated: 12 มี.ค. 2568 | 1788 จำนวนผู้เข้าชม |
เลิกหรือลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย (Evironmental Conservation)
•
▶ โซดาไฟ คือ "สารประกอบชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NOOH) เป็นของแข็งสีขาวดูดความชื้นดีมาก ละลายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์ในการทำ อุตสาหกรรมต่างๆ มีคุณลักษณะสารเคมีเป็นของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น มีฤทธิ์เป็นด่าง ยิ่งเข้มขันมากยิ่งมีฤทธิ์มาก ร้อน และสามารถกัดผิวหนังให้เปื่อยยุ่ยได้ในระยะเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที ถ้าหากเราใช้ผิดวิธีและไม่ระมัดระวัง
ข้อควรระวัง
โซดาไฟทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย ระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอดได้ หากเข้าตาจะมีฤทธิ์ทำลายระคายเคืองหรือรุนแรงกระทั่งทำให้ตาบอดได้ หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการไหม้จนเป็นแผลลึก หากรับประทานเข้าไปจะเกิดการไหม้ในปาก ลำคอและทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เคยได้รับสาร เข้าไปทางปาก อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้
โซดาไฟกับปฏิกิริยาต่อเนื่อง
แม้ว่าโซดาไฟเป็นสารไม่ติดไฟ แต่ถ้าสัมผัสกับสารบางชนิดเช่น กรดเข้มข้น หรือทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกันจนเกิดความร้อนเพียงพอ และทำให้สารที่วางอยู่ใกล้ สามารถติดไฟได้ การดับเพลิงจึงต้องดูสารที่เป็นคู่ปฏิกิริยาทางเคมีและรวมถึงการเลือกใช้เครื่องดับเพลิงให้ถูกต้องกับเหตุการณ์ด้วย
- เป็นอันตรายต้อผู้ใช้
- ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ
- กัดผิวหนัง
▶ ทินเนอร์ (Thinner) ประกอบด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ระเหยง่าย มีลักษณะเป็นของเพลวใส ระเหยง่าย มีกลิ่นฉุน ใช้สำหรับละลาย และเจือจางสี น้ำยาเคลือบเงาเพื่อลดความหนึด และเจือจางให้สีเหมาะ และง่ายต่อการใช้งาน
ความอันตราย
1. เป็นวัตถุไวไฟ เป็นพิษ ห้ามรับประทานหรือสูดดม ควรใช้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
2. สารระเหยกระจายไปได้ในระยะไกล สามารถทำให้ติดไฟและเกิดระเบิดได้ไม่ควรใช้ในสถานที่อับลม ที่มีสวิทซ์ไฟ เครื่องทำความร้อน เครื่องไฟฟ้าที่ไม่มีระบบกันการระเบิดหรือมีเปลวไฟและประกายไฟ
สารเหล่านี้มีฤทธิ์กดประสาท และหลอนประสาท โดยเฉพาะโทลูอีน หากนำมาสูดดมจะทำให้รู้สึก เคลือบเคลิ้ม สนุกสนาน หากสูดดมมากจะทำให้รู้สึกมึนเมา พูดจาไม่ชัดเจน มีอาการประสาทพลอน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หากมีการสูดดมมาก และเป็นระยะเวลายาวนาน จะทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง เยื่อบุในระบบทางเดินหายใจถูกทำลาย หลอดเลือดฝ่อยแตกมีการอักเสบของระบทางเดินพายใจ และทำให้เกิดความล้มเหลวของระบบหายใจตามมา
27 มี.ค. 2568
22 ม.ค. 2568
19 พ.ย. 2567
18 มี.ค. 2568